วันจันทร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

เทคโนโลยีการเกษตร

 
 
สถานภาพการเป็นเทคโนโลยีการเกษตรของควายจะเห็นได้ว่าจากการใช้พลังงานที่เรียกว่า "แรงควาย" ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับงานเกษตรกรรมด้านการทำนามากกว่าทำไร่ เพราะควายชอบน้ำมากกว่าชอบแดด และถนัดงานลุ่มมากกว่างานดอน ดังนั้นการใช้เทคโนโลยีควายจึงเหมาะกับการทำนาปลูกข้าวในด้านของเทคนิคการไถ การคราด และการนวดข้าว เป็นต้น นอกจากการเป็นเทคโนโลยีในด้านพลังการผลิตดังกล่าว มูลควาย หรือ "ขี้ควาย" ยังเป็นเทคโนโลยีในด้านปุ๋ย การใช้ปุ๋ยขี้ควายนอกจากจะไม่เกิดอันตรายกับสภาพแวดล้อมในเรื่องของดินน้ำและคนแล้ว ยังช่วยให้เกิดสภาวะความสมดุลของธรรมชาติอีกด้วย
สำหรับบทบาทหน้าที่ในด้านการเป็นพาหนะใช้เดินทางและขนส่งนั้น ควาย คือ พาหนะชั้นยอดเยี่ยมที่ไม่อาจจะหาพาหนะใด ๆ มาเปรียบเทียบได้ แม้แต่ยานพาหนะสมัยใหม่ที่ใช้จักรกลก็ยังไม่มีสิ่งประดิษฐ์คิดค้นของตัวยานพาหนะใด ที่สามารถใช้งานได้อย่างรอบด้านทัดเทียมกับควาย ทั้งนี้เพราะควายเป็นสัตว์สะเทินน้ำ-สะเทินบก สามารถเดินทางข้ามห้วย ลำคลองและแม่น้ำได้โดยไม่ต้องใช้เรือบรรทุก
การรู้ธรรมชาติของสัตว์และเข้าใจในบทบาทหน้าที่ดังกล่าว ทำให้ตระหนักได้ว่า ควาย ไม่ใช่สัตว์ธรรมดาเหมือนกับสัตว์เลี้ยงทั่วไป หากมองในมิติของการรับใช้มนุษย์มาตลอดยุคสมัยของสังคมเกษตรกรรมยั่งยืน ทั้งกรณีการเป็นเทคโนโลยีที่ผลิตข้าวเลี้ยงคน และกรณีเป็นพาหนะทุกรูปแบบ ควายก็คือ "สัตว์พระคุณในประวัติศาสตร์" ที่คนเราควรสำนึกและให้เกียรติไม่ควรหยามเหยียดในกรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
หากมองในมิติของประวัติศาสตร์สังคมที่แบ่งออกเป็น 3 ยุค ดังกล่าว ควายก็คือ "สัตว์ผู้นำพาการพัฒนาสังคม" ฉุดลากสังคมให้หลุดพ้นจากยุควิถีล่าสัตว์-เก็บของป่าในยุคต้นแล้วนำพาเข้าสู่สังคมเกษตรกรรมแบบยั่งยืนในยุคกลาง และกำลังผ่านเข้าสู่ยุคพาณิชย์อุตสาหกรรมในวิถีแปลกแยกของสมัยปัจจุบันที่คนกับควายเริ่มไม่รู้จักกัน เหินห่างกันและไม่เข้าใจกัน ทั้งนี้เพราะควายเริ่มหมดบทบาทหน้าที่ กำลังถูกเทคโนโลยีจักรกลสมัยใหม่เข้ามาแทนที่ ทั้งในกรณีเทคโนโลยีด้านการเกษตรและเทคโนโลยีด้านการเดินทางขนส่งที่ควายเคยทำหน้าที่เหล่านี้มาเป็นเวลาพัน ๆ ปี

 
แหล่งที่มา :เทคโนโลยีการเกษตร.2545. [ออนไลน์].เข้าถึงได้จากhttp://www.thaitopic.com/swebboard/00049.html

เทคโนโลยีวัสดุ

วัสดุที่เป็นที่สนใจของนักวัสดุศาสตร์จะหมายถึง “สสารที่มีสมบัติที่เหมาะสมต่อการนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ทางวิศวกรรมและผ่านกระบวนการผลิตเพื่อเป็นองค์ประกอบของผลิตภัณฑ์หรือสิ่งของเครื่องใช้” ดังนั้นเราจึงอาจไม่เรียกทุกอย่างในโลกนี้ว่าวัสดุ ตัวอย่างเช่น เราไม่เรียกต้นมะพร้าวว่าวัสดุ แต่ถ้าเรานำเส้นใยที่ได้จากมะพร้าวมาปั่นเป็นเส้นใยแล้วปั่นเป็นเส้นเชือกแล้วเราก็เรียกว่าวัสดุ 
 นี่คือผลผลิตของวัตถุ

ถังก๊าซติดรถยนต์มีมาตรฐานหรือไม่ดูอย่างไรว่าปลอดภัย? โดย วารสารพลังไทย
เพื่อความปลอดภัยในการใช้รถของท่าน การที่จะเลือกใช้ถังก๊าซก็เป็นสิ่งที่สำคัญสำหไรบการใช้งานที่ปลอดภัย
กระบวนการปั๊มเข้ารูปโลหะแผ่น (sheet Metal Stamping Process) โดย ดร.ฉัตรชัย จันทร์เด่นดวง
โลหะแผ่นเป็นสิ่งที่เราพบเจอกันอยู่ในปัจจุบัน และมีกระบวนการทำหลากหลายเพื่อดึงดูดความสนใจ ซึ่งกระบวนการปั๊มเข้ารูปโลหะแผ่นก็เป็นอีกกระบวนการหนึ่งที่น่าสนใจ 
ระวังภัยมืด “การจารกรรมข้อมูลบัตรเครดิตและคอมพิวเตอร์” โดย ศูนย์สื่อสารวิทยาศาสตร์ไทย
ทุกวันนี้เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทมากในชีวิตประจำวันของเราทุกคน เราก็ควรที่จะระวังตนจากภัยที่จะเกิดจากเทคโนโลยีด้วย ซึ่งจะส่งกระทบต่อเรามากขึ้น เพราะฉะนั้นจึงควรที่จะศึกษาและเรียนรู้เพื่อให้รู้เท่าทัน
นวนิยายและภาพยนตร์ Sci – Fi โดย นิตยสาร สสวท
โลกรู้จัก Jules Gabriel Verne ผู้เกิดเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2371 ที่เมือง Nantes ในฝรั่งเศส ว่าเป็นนักเขียนวนนิยายวิทยาศาสตร์กว่า 60 เล่ม ผลงานของเขาทำให้นักวิทยาศาสตร์ นักประดิษฐ์ นักสำรวจ รวมถึงวิศวกรและสังคมทั่วไปตื่นตัวมาก เพราะนวนิยายที่ Verne
ลิฟต์อวกาศ โดย วิรุฬหกกลับ
ลิฟต์อวกาศโครงการใหญ่ของวงการวิทยาศาสตร์ที่จะทำหน้าที่เชื่อมโลกกับอวกาศเข้าด้วยกัน โครงการดังกล่าวเป็นโครงการใหญ่ที่ต้องอาศัยการทุ่มเททั้งทุนทรัพย์และสรรพวิทยาในการเปิดประตูจักรวาลในครั้งนี้ หลายฝ่ายคาดการณ์กันว่าอีกไม่มีกี่สิบปีโลกเราจะมีลิฟต์อวกาศไว้ใช้
กาว กับการเลือกใช้งาน โดย ดร.ธนาวดี ลี้จากภัย
กาว หมายถึงวัสดุที่เราใช้ซ่อมแซม หรือติดวัตถุ 2 ชิ้นเข้าด้วยกัน เรียนรู้จากกาวในครั้งนี้จะเริ่มต้นจากเรียนรู้ศัพท์ภาษาอังกฤษกันก่อน แล้วจึงค่อยมาดูความแตกต่าง และการใช้งานของกาวชนิดต่างๆ กัน
งานประกันคุณภาพและทรัพย์สินทางปัญญา สกว. โดย สมิตาภัสร์ จิตรแจ้ง
จากการที่ผู้เขียนได้มีโอกาสปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับงานด้านทรัพย์สินทางปัญญา จึงมีประสบการณ์ที่อยากจะนำมาถ่ายทอด ผ่านการอธิบายหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญา
Recommended พอลิเมอร์ วัสดุเอนกประสงค์ โดย ผศ. ดร. ปกรณ์ และ ดร. มัณทนา โอภาประกาสิต
ทุกคนคงคุ้นเคยกกับพลาสติก และได้ใช้งานวัสดุชนิดนี้มาเป็นอย่างดี เนื่องจากพลาสติกเป็นวัสดุที่ถูกนำมาใช้ประโยชน์อย่างแพร่หลายในชีวิตประจำวัน พลาสติกจัดเป็นพอลิเมอร์ (polymer) ชนิดหนึ่ง เราลองมาทำความรู้จักกับสารประกอบชนิดนี้กันเลย
ไททาเนีย: ตัวเร่งปฏิกิริยาแบบใช้แสงร่วม โดย ดร.ธรรมนูญ ศรีทะวงศ์
ไททาเนียหรือไททาเนียมไดออกไซด์ (TiO2) เป็นสารกึ่งตัวนำที่ถูกนำมาใช้ในกระบวนการเร่งปฏิกิริยาแบบใช้แสงร่วมมากที่สุด



ที่มา http://www.vcharkarn.com/

เทคโนโลยีสิ่งทอและผ้าทอ

                                  เทคโนโลยีสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

ฝ้ายเป็นเส้นใยธรรมชาติจากการเก็บเกี่ยวพืชฝ้าย ฝ้ายเป็นเส้นใยที่เก่าแก่ที่สุดใน
การเพาะปลูกมนุษย์กับร่องรอยของฝ้ายกว่า 7,000 ปีหายจากโบราณคดี ฝ้ายยังเป็นหนึ่ง
ในเส้นใยธรรมชาติที่ใช้มากที่สุดในวันนี้อยู่กับผู้บริโภคจากทุกชั้นและประเทศสวมใส่และ
ใช้ผ้าฝ้ายในหลากหลายของแอ นับพันไร่ทั่วโลกมีเพื่อรองรับการผลิตผ้าฝ้ายที่ไม่ว่าจะเป็นผ้าฝ้าย
โลกใหม่ด้วยอีกเส้นใยเรียบหรือสั้นและ coarser พันธุ์โลกเก่า






ความรู้พื้นฐานสิ่งทอ
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
       สิ่งทอ (Textile) คำนิยามเดิมจะหมายถึงเฉพาะผ้าทอเท่านั้น แต่ในปัจจุบันมีการขยายความหมายครอบคลุมถึงเส้นใย ด้าย ผืนผ้า หรือผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากเส้นใย เส้นด้าย หรือผืนผ้าด้วย [1]
       สิ่งทอสามารถแยกตามประเภทการใช้งานเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ กลุ่ม สิ่งทอทั่วไป (Conventional textiles) และ สิ่งทอเฉพาะทาง (Technical textiles)
 
 
 
สิ่งทอทั่วไป (Conventional textiles)
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
      สิ่งทอทั่วไปนั้นครอบคลุมถึง สิ่งทอที่มีการขึ้นรูปตามปกติจากเส้นใยเป็นเส้นด้าย ไปจนถึงการถักทอขึ้นรูปเป็นผืนผ้า ลักษณะของผลิตภัณฑ์ขึ้นอยู่กับการนำไปใช้เช่น เชือก ซึ่งเกิดจากการขึ้นรูปจากเส้นใย ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่มักอยู่ในรูปของเสื้อผ้า
       กระบวนการผลิตสิ่งทอเป็นกระบวนการต่อเนื่องของหลายๆกระบวนการ เริ่มตั้งแต่การผลิตเส้นใย (Fiber formation) การขึ้นรูปเป็นเส้นด้าย (Yarn spinning) การขึ้นรูปสิ่งทอ (Textile formation) และการตกแต่งสำเร็จ (Finishing) อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องจึงมีทั้งอุตสาหกรรมที่ผลิตเส้นใย (ในกรณีของเส้นใยประดิษฐ์) ซึ่งถือว่าเป็นอุตสาหกรรมต้นน้ำ (upstream) อุตสาหกรรมปั่นด้าย และอุตสาหกรรมถัก ทอผ้า ซึ่งถือว่าเป็นอุตสาหกรรมกลางน้ำ (midstream) และสุดท้ายอุตสาหกรรมฟอกย้อมและตกแต่ง ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมปลายน้ำ (downstream) ส่วนการผลิตเสื้อผ้านั้น ถือว่าเป็นอีกกระบวนการหนึ่ง ที่แยกออกมาเนื่องจากเป็นการนำเอาสิ่งทอ ไปออกแบบและตัดเย็บตามรูปแบบที่ต้องการ
ที่มาhttp://www2.mtec.or.th/thresearch/ttile/introduction.


เทคโนโลยีการขนส่ง

                                

                                  สาขาวิชาเทคโนโลยีการขนส่ง

                                                           
                                                           เนื้อหาหลักสูตร
สาขาเทคโนโลยีการขนส่ง เป็นวิชาที่เกี่ยวข้องกับ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา ที่เน้นเฉพาะด้านการขนส่ง เนื้อหาวิชา จะเกี่ยวกับการออกแบบ วางแผน จัดการ การจราจร การขนส่งคน และสินค้าในรูปแบบต่างๆ ทั้งทางบก น้ำ และ อากาศ ทั้งนี้ จะเน้นไปในทางวิศวกรรม ซึ่งสามารถประยุกต์ใช้ ในการออกแบบ ควบคุมงานก่อสร้างถนน ทางรถไฟ สนามบิน หรือท่าเรือได้ นอกจากนี้ ยังมีความรู้ ความสามารถ ทางด้านวิศวกรรมโยธา เช่นงานโครงก่อสร้าง งานสำรวจ งานดิน หรือ ชลศาสตร์ เป็นต้น
นักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีขนส่ง จะเรียนรู้วิชาการในหมวดต่าง ๆ ดังนี้
วิศวกรรมสำรวจ
วิศวกรรมโครงสร้าง
วิศวกรรมปฐพี
วิศวกรรมชลศาสตร์
วิศวกรรมการขนส่งและเทคโนโลยี
นอกจากนี้ยังเพิ่มเติมการศึกษาเกี่ยวกับทฤษฎีและวิธีการในทางปฎิบัติของการบริหารโครงการก่อสร้างทั้งขนาดเล็กและใหญ่ ในกรณีที่เป็นเจ้าของโครงการก่อสร้าง วิศวกรที่ปรึกษาโครงการ และผู้รับเหมาก่อสร้าง ตลอดจนพื้นฐานการจัดรูปองค์การ การควบคุมบริหารการเงินในการก่อสร้าง กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับงานก่อสร้างและความปลอดภัยในการก่อสร้าง

เทคโนโลยีการแพทย์

 
 
เทคโนโลยีสมัยใหม่สามารถใช้ได้ในการแพทย์
เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง
โรคหลอดเลือดหัวใจตีบเป็นโรคที่พบบ่อย และเป็นมัจจุราชเงียบที่คร่าชีวิตประชากรโลกในแต่ละปีเป็นอันดับต้นๆ
โรคนี้เกิดจากการที่หลอดเลือดโคโรนารีซึ่งส่งเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจเกิดการตีบแคบหรือถูกอุดกั้น ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และออกซิเจน เมื่อผู้ป่วยเกิดสภาวะหลอดเลือดอุดตันก็จะมีอาการเจ็บหน้าอก เหนื่อยง่ายเวลาออกกำลังกาย และหากหลอดเลือดโคโรนารีเกิดการอุดตันอย่างสมบูรณ์ ก็อาจทำให้เกิดอาการหัวใจวายเฉียบพลัน (Acute heart attack) และเสียชีวิตได้ในที่สุด ดังนั้น ยิ่งตรวจเจอโรคนี้เร็วเท่าไหร่ ก็จะยิ่งช่วยรักษาชีวิตให้ยืนยาวได้มากขึ้นเท่านั้น
การวินิจฉัยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบสามารถทำได้โดยการตรวจร่างกาย ประวัติความเจ็บป่วย และการใช้เครื่องมือพิเศษ เช่น Electrocardiography (คลื่นไฟฟ้าหัวใจ) Echocardiography (Ultrasound heart) Magnetic resonance imaging (MRI) เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง (Multi detector computed tomography) หรือ การตรวจสวนหัวใจ (Cardiac catheterization) ซึ่งถือเป็น Gold Standard ในการตรวจหลอดเลือดหัวใจโดยตรง เพราะเห็นพยาธิสภาพที่เกิดในหลอดเลือดหัวใจอย่างชัดเจน แต่วิธีการนี้อาจจะไม่สะดวกสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงต่ำในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบแต่มีอาการน่าสงสัย เพราะจะต้องสอดใส่อุปกรณ์การตรวจเข้าไปภายในร่างกาย
ด้วยวิวัฒนาการทางการแพทย์ที่เจริญก้าวหน้า เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (Computed Tomography) จึงได้รับการพัฒนาอย่างมากจนเป็น Multi slice CT scan (MSCT) ซึ่งถูกนำมาใช้ในการวินิจฉัยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โดยนวัตกรรมล่าสุด คือ เครื่อง 256-slice multi-detector CT scan ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น และด้วยความพร้อมด้านการแพทย์ระดับแนวหน้าผสานกับประสบการณ์การรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือดมากที่สุดแห่งหนึ่งในภูมิภาค วันนี้โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ พร้อมแล้วที่จะก้าวไปสู่การตรวจรักษาโรคหัวใจแห่งศตวรรษที่ 21 ด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูงสุด 256-slice multi-detector CT scan เครื่องแรกในประเทศไทย
256-slice multi-detector CT scan ได้รับการพัฒนาจากเครื่อง 64-slice CT scan ที่ถูกนำมาใช้ในการวินิจฉัยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตั้งแต่ปี 2547 แม้ว่าเครื่อง 64- slice CT scan จะสามารถใช้อย่างได้ผลและสะดวกขึ้นเมื่อเทียบกับการตรวจสวนหัวใจ ทั้งยังสามารถบอกปริมาณคราบหินปูนที่จับเกาะอยู่ในผนังหลอดเลือดโคโรนารี ซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นตัวพยากรณ์ความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบใน อนาคตร่วมกับปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ได้ แต่เครื่อง 64-slice CT scan ก็ยังมีข้อจำกัดในการตรวจหาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบในผู้ป่วยที่มีอัตราการเต้น ของหัวใจเร็วกว่า 70 ครั้งต่อนาที หรือหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดอื่นๆ

เทคโนโลยีการศึกษา



เทคโนโลยีการศึกษา (อังกฤษ: Educational Technology) เป็นศาสตร์ที่ประยุกต์เอาวิชาการต่างๆ
 มาจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ได้อย่างมีประสิทธิผล
ซึ่งเกิดจากการออกแบบการสอนตามหลักการออกแบบการเรียนการสอน (Instructional Design)
โดยคำนึงถึงคุณลักษณะของผู้เรียน ความเหมาะสมของสื่อที่สอดคล้องกับลักษณะเนื้อหา
และความสนใจของผู้เรียน
เทคโนโลยีการศึกษา เป็นคำที่มาจากคำสองคำ คือ เทคโนโลยี ที่มีความหมายว่า
เป็นศาสตร์แห่งวิธีการ ซึ่งมิได้มีความหมายว่าเป็นศาสตร์แห่งเครื่องมือเพียงอย่างเดียว
แต่รวมถึง
วัสดุและวิธีการด้วย เมื่อมาเชื่อมกับคำว่า การศึกษา เกิดเป็นคำใหม่ที่มีความหมายว่า
 การประยุกต์เครื่องมือ วัสดุและวิธีการไปส่งเสริมประสิทธิภาพการเรียนรู้ ตลอดจนการจัด
สภาพแวดล้อมใหม่เพื่อการเรียนรู้
เทคโนโลยีการศึกษา เน้นเรื่อง วิธีการ ระบบ และเครื่องมือ เพื่อนำมาใช้ในการจัดการ
เรียนการสอน เทคโนโลยีการศึกษากับนวัตกรรมการศึกษาดูจะใกล้เคียงกันมาก
เนื่องจากนวัตกรรมการศึกษา เป็นการนำเอาสิ่งใหม่ ๆ มาใช้ในการศึกษา ซึ่งเป็นเทคโนโลยี
ที่เป็นผลผลิตจากการพัฒนาของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงมีผู้เปรียบเทียบว่า
ถ้านวัตกรรมการศึกษาเป็นหน่อไม้ เทคโนโลยีการศึกษาเปรียบเหมือนกอไผ่ ซึ่งรวมทั้งลำไผ่เดี่ยวๆ และกอไผ่
 การเรียนการสอนเกี่ยวกับเทคโนโลยีการศึกษา ได้มีการเปิดสอนใน
วิทยาเขตปัตตานี มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยทักษิณ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีหน่วยงานที่ทำหน้าที่
เทคโนโลยีการศึกษา ที่ใช้ชื่อ เทคโนโลยีทางการศึกษา ซึ่งไม่ว่าชื่อจะแตกต่างอย่างไร
เนื้อหาของวิชาการเทคโนโลยีการศึกษาก็เป็นเนื้อหาเดียวกัน ปัจจุบันได้มีสถาบันอุดมศึกษา
ของรัฐที่เปิดสอนสาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา
 22 สถาบันดังต่อไปนี้
  • 2.คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • 3.คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • 4.คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • 5.คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • 7.คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • 8.คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • 9.คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • 10.คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • 11.คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลันเรศวร
  • 12.คณะครุศาสตร์เทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • 13.คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • 14.คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  • 15.คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • 16.คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
  • 17.คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
  • 18.คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงค์ชวลิตกุล
  • 19.คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเซนต์จอร์น
  • 20.คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • 21.สำนักวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • 22.คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎ


เทคโนโลยีอาหาร

 

  เทคโนโลยีอาหาร (อังกฤษ: Food Technology) เป็นสาขาวิชาที่ประยุกต์มา

จากวิทยาศาสตร์การอาหาร มีเนื้อหาเกี่ยวกับการถนอมอาหาร การแปรรูปอาหาร

บรรจุภัณฑ์ การจัดจำหน่ายอาหาร และหลักโภชนาการของอาหาร

นักวิทยาศาสตร์การอาหารและนักเทคโนโลยีอาหารเป็นจะศึกษาลักษณะ

ทางกายภาพ ทางจุลชีววิทยา และทางเคมีของอาหาร

ในบางสถานศึกษา เทคโนโลยีอาหารจะถูกบรรจุอยู่ในหลักสูตรการเรียน

การสอนร่วมกับวิชาการปรุงอาหาร โภชนาการ และกระบวนการผลิตอาหาร

[แก้] ประวัติศาสตร์ยุคแรกเริ่มของเทคโนโลยีอาหาร

หลุยส์ พาสเตอร์ ได้ศึกษาวิจัยการเน่าเสียของไวน์ และได้ค้นพบวิธีป้องกัน

การเน่าเสียในปี 1864 (พ.ศ. 2407) ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของเทคโนโลยีอาหาร

ที่มีพื้นฐานมาจากวิทยาศาสตร์

เทคโนโลยีสารสนเทศ




 

1. ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology)
        ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศหมายถึง อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการรวบรวมประมวล เก็บรักษา และเผยแพร่ข้อมูลและสารสนเทศโดยรวมทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ฐานข้อมูล และการสื่อสาร โทรคมนาคม


2. ความหมายของข้อมูลและสารสนเทศ

        ระบบสารสนเทศสร้างขึ้นมาเพื่อจุดมุ่งหมายหลายประการจุดมุ่งหมายพื้นฐานประการหนึ่ง คือ การประมวลข้อมูล (Data) ให้เป็นสารสนเทศ (Information) และนำไปสู่ความรู้ (Knowledge) ที่ช่วยแก้ปัญหาในการดำเนินงาน


3. ความหมายของข้อมูล

        ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ หรือข้อมูลดิบที่ยังไม่ผ่านการประมวลผล ยังไม่มีความหมายในการนำไปใช้งาน ข้อมูลอาจเป็นตัวเลข ตัวอักษร สัญลักษณ์ รูปภาพ เสียง หรือภาพเคลื่อนไหว


4. ความหมายของสารสนเทศ

        สารสนเทศ คือ ข้อมูลที่ได้ผ่านการประมวลผลหรือจัดระบบแล้ว เพื่อให้มีความหมายและคุณค่าสำหรับผู้ใช้