วันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

อาชีพหมอ


อาชีพหมอ


             อาชีพหมอ หรือแพทย์

แพทย์ คือ ผู้ให้บริการด้านการรักษาสุขภาพร่างกาย และจิตใจใน

ด้านต่าง ๆ

แพทย์ ในยุคปัจจุบันแบ่งออกได้หลายสาขา ตามสาขาเฉพาะทาง 

ยกตัวอย่างเช่นโรคผิวหนัง อายุรกรรม ศัลยกรรม โรคกระดูก โรคหู

คอ โรคต่อมไร้ท้อ ระบบประสาท โรค แพทย์ผ่าตัด แพทย์ทั่วไป ฯลฯ

              ลักษณะงานที่เกี่ยวข้องกับอาชีพ
วินิจฉัยโรคหรืออาการของโรค

ให้การรักษาโรค

ให้คำแนะนำทางการแพทย์

              คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ
1. มีความรู้ความสามารถทางวิชาการ

2. มีผลการเรียนอยู่ในระดับดีถึงดีมาก

3. มีสิตปัญญาดี

4. มีสุขาพร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์

5. เป็นผู้เสียสละ

6. รักและศรัทธาต่อวิชาชีพแพทย์

7. มีความมั่นใจในตนเอง

8. ไม่กลัวเลือด

9. ชอบการให้บริการ

10. ไม่รังเกลียดคนป่วย

11. ชื่นชอบงานท้าทาย

12. อดทนต่อสภาพแรงกดดันได้ดี

13. มีความซื่อสัตย์

14. อื่นๆ

              แนวทางพัฒนาอาชีพ
1. แพทย์

2. แพทย์ประจำตำบล

3. แพทย์ประจำโรงพยาบาลอำเภอ

4. แพทย์ประจำโรงพยาบาลจังหวัด

5. แพทย์โรงพยาบาลเอกชน

6. แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง

7. ผู้ประกอบการโรงพยาบาล

8. เจ้าของคลินิก

9. อาจารย์หมอ

10. อื่น ๆ



                            











                                            ที่มา  http://naenaew.blogspot.com

อาชีพตำรวจ


อาชีพตำรวจ



                       อาชีพตำรวจ

               รายละเอียดของอาชีพ

อาชีพตำรวจหรืออาชีพผู้พิทักษ์สินติราช เพื่อความยุติธรรมในสังคม

ตำรวจ คือ ผู้รักษาความปลอดภัยให้กับประชาชน

อาชีพตำรวจเป็นอาชีพที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนในสังคม เพื่อให้บ้านเมืองเกิดความ

สงบเรียบร้อย ค่อยรักษาความปลอดภัยให้กับผู้คนในสังคมอาชีพตำรวจจึงเป็นอาชีพที่มีเกียรติมีศักดิ์ศรี

ซึ่งเป็นงานที่เสียสละเพื่อความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองและประชาชน

ลักษณะงานที่เกี่ยวข้องกับอาชีพ

1. ป้องกันการกระทำผิด

2. ปราบปรามการกระทำผิด

3. รักษาความสงบเรียบร้อย

4. บรรเทาทุกให้กับประชาชน

5. อื่น ๆ

คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ

1. มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์

2. มีความอดทน

3. มีทักษะทางด้านกีฬา เช่น ว่ายน้ำ วิ่ง

4. มีความซื่อสัตย์สุจริต

5. รักความยุติธรรม

6. มีความเสียสละทั้งแรงกายแรงใจ

7. มีความกล้าหาญ

8. มีระเอียดความรอบคอบ

9. มีระเบียบวินัย

10. มีบุคลิกภาพและมีความสูงตามที่กำหนดไว้

11. อื่น ๆ

แนวทางพัฒนาอาชีพ

1. ตำตรวจชั้นต่ำกว่าประทวน

2. ตำรวจชั้นประทวน

3. ตำรวจชั้นสัญญาบัตร

4. ตำรวจตระเวนชายแดน

5. ตำรวจกรมป่าไม้

6. ตำรวจภูธร

7. ตำรวจทางหลวง

8. ตำรวจจราจร

9. ตำรวจสันติบาล

10. ตำรวจรถไฟ

11. ตำรวจน้ำ

12. ตำรวจกองปราบ

13. ตำรวจนครบาล

14. ตำรวจสภา

15. ตำรวจวัง

16. ตำรวจหลวง

17. ตำรวจปฏิบัติราชการลับ

18. ตำรวจดับเพลิง

19. ตำรวจไอซีที

20. บอดี้การ์ด

21. อื่น ๆ



ที่มา  http://naenaew.blogspot.com

อาชีพครู



อาชีพครู

                               อาชีพครู คือ อาชีพที่ ถ่ายทอดความรู้ ด้วยวิธีการสอนและการจัดการเรียนรู้หลากหลายรูปแบบ
เพื่อให้มนุษย์เกิดการเรียนรู้ และพัฒนาศักยภาพของตนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น



                           คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพครู
1.  ผู้จบการศึกษาในระดับปริญญาตรีขึ้นไป (คณะครุศาสตร์/คณะศึกษาศาสตร์)
2.  มีใบประกอบวิชาชีพครู     
3.  มีความรู้ความชำนาญเฉพาะเรื่อง ตามวิชาที่ตนถนัด
4.  มีความซื่อสัตย์ สุจริต
5.  รักเด็ก มีจิตใจโอบอ้อมอารี
6.  ศรัทธาต่อวิชาชีพครู
7.  รักการแสวงหาความรู้
8.  ชอบการสอน
9.  อื่นๆ
นอกเหนือจากนี้คือคุณสมบัติของครูที่มีความสามารถเฉพาะด้านโดยไม่จำเป็นต้องมีคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้ก่อนหน้านี้
1)  มีความรู้ ความชำนาญและเชี่ยวชาญในเรื่องนั้น ๆ โดยเฉพาะ
2)  เป็นผู้มากประสบการณ์ และต้องการถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้รู้และทราบ
3)  เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ที่ตนมีให้ผู้อื่นด้วยวิธีการต่าง ๆ
4)  อื่น ๆ
                                ขอบข่ายงานของอาชีพครู
1.  การจัดการสอน/การจัดการเรียนรู้
2.  เป็นที่ปรึกษาให้ผู้เรียน
3.  ดูแลผู้เรียนทุกคนที่อยู่ในโรงเรียน
4.  แสวงหาวิธีการจัดการเรียนการสอนรูปแบบต่าง ๆ
5.  หน้าที่อื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้างานและสถานศึกษา
                                  แนวทางการพัฒนาอาชีพครู
1.  ครูในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ
1.1  ครูวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ
1.2  ครูวิทยฐานะเชี่ยวชาญ
1.3  ครูวิทยฐานะเชี่ยวชาญพิเศษ
2.  ครูเอกชน
3.  ครูอัตราจ้าง
4.  ครูพี่เลี้ยงเด็ก
5.  ผู้อำนวยการโรงเรียน
6.  เจ้าของกิจการสถานศึกษาเอกชน
7.  เจ้าของกิจการโรงเรียนกวดวิชา
8.  เปิดสอนพิเศษ
9.  ผู้ทรงคุณวุฒิ
10.  นักวิชาการ
11.  นักการศึกษา
12.  อื่น ๆ
ที่มา  http://www.career.newnaew.net


อาชีพอิสระ



อาชีพอิสระ

                        อาชีพอิสระ  หมายถึง  อาชีพส่วนตัวทั้งในภาคเศรษฐกิจที่เป็นระบบ ( Formal  Sector )  และภาคเศรษฐกิจที่ไม่เป็นระบบ  ( Informal  Sector )  เจ้าของกิจการเป็นผู้ประกอบการเองทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้  โดยได้รับค่าตอบแทนเป็นรูปของกำไร  ไม่ใช่เงินเดือน
 อาชีพอิสระ  หมายถึง  อาชีพที่มีลักษณะ  ดังนี้ 
      1. เจ้าของกิจการไม่เป็นลูกจ้าง  รับเงินเดือนจากนายจ้าง  แต่ได้รับค่าตอบแทนจากลูกค้า 
      2. เจ้าของกิจการเป็นผู้ลงมือกระทำเองในฐานะผู้ปฏิบัติงาน 
  3. มีผู้ช่วยเหลือปฏิบัติงานโดยอาจได้เงินเดือนหรือค่าจ้างเป็นรายชิ้นก็ได้  จำนวนไม่เกิน  5 

คน  และใช้ทุนดำเนินการไม่เกิน  500,000  บาท 



ที่มา  http://arts.kmutt.ac.th

อาชีพชาวนา


อาชีพชาวนา

                         อาชีพชาวนา เป็นอาชีพที่สำคัญของประเทศไทย ชาวนาเป็นผู้ปลูกข้าวมาให้เราได้รับประทาน ซึ่งข้าวนั้นเป็นอาหารหลักของคนไทย เราจึงเรียกชาวนาว่า เปรียบเสมือน "กระดูกสันหลังของชาติ" ชาวนาจะปลูกข้าวในช่วงฤดูฝน และจะเก็บเกี่ยวในช่วงปลายฤดูฝน เมื่อถึงฤดูเก็บเกี่ยว ชาวนาจะชวนชาวนาด้วยกันมาช่วยกันลงแขกเกี่ยวข้าว เพื่อจะเก็บเกี่ยวได้เร็วยิ่งขึ้น ชาวนาก็จะนำข้าวมาขายให้พวกเรา แล้วเราก็จะมีข้าวไว้รับประทานกัน นับว่าชาวนาเป็นบุคคลที่มีประโยชน์ต่อคนไทยทุกคน



อาชีพทำสวน

                                                                 

                                                                       อาชีพทำสวน   

                           อาชีพทำสวน เป็นอาชีพที่ปลูกผักหรือผลไม้ ผู้ที่ประกอบอาชีพทำสวนเรียกว่า ชาวสวน คือการปลูกผลไม้ ผัก หรือไม้ดอกต่างๆ การทำ สวนในเเต่ละภาคเป็นตามสภาพ ภูมิอากาศ ภาคเหนือนิยมปลูกผัก เเละ ผลไม้เมืองหนาวต่างๆ ภาคใต้ทำสวนยาง พารา มะพร้าว ภาคตะวันออก ทำสวนผลไม้ เช่น เงาะ ทุเรียน เป็นต้น




วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

อาชีพก่อสร้าง

 
อาชีพก่อสร้าง
 
 
 
 
 
 
                           การก่อสร้าง คือกิจกรรม การกระทำให้เกิด การประกอบ หรือการติดตั้ง ให้เกิดเป็นอาคาร โครงสร้าง ระบบสาธารณูปโภค หรือส่วนประกอบของสิ่งที่กล่าวข้างต้น และมักจะหมายถึงงานทางด้านโยธาเป็นส่วนใหญ่
การก่อสร้างเป็นการปฏิบัติวิชาชีพแขนงหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วยงานไม้ งานคอนกรีต งานปูนก่อฉาบ งานเหล็ก ช่างซึ่งปฏิบัติงานในงานแขนงนั้น ๆ ก็จะเรียกตามประเภทของงานนั้น ๆ เช่น ช่างไม้ ช่างปูน ฯลฯ คำที่เรียกโดยรวมก็คือ ช่างก่อสร้าง และผู้ที่มีอาชีพลงทุนรับจ้างทำงานก่อสร้างจะเรียกทั่ว ๆ ไปว่า ผู้รับเหมา

                       ประเภทของโครงการก่อสร้าง ได้แก่
               งานอาคาร ได้แก่
                งานถนนและระบบสาธารณูปโภคด้านขนส่ง ได้แก่
                   งานระบบชลประทาน ได้แก่
  • เขื่อน
  • คลองส่งน้ำชลประทาน
  • งานอาคารประกอบอื่น ๆ
                งานระบบสาธารณูปโภค อื่น ๆ ได้แก่
                    ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในโครงการก่อสร้างโดยตรง

  • ผู้ลงทุน
  • สถาปนิก
  • วิศวกร
    • วิศวกรโยธา
    • วิศวกรโครงสร้าง
    • วิศวกรงานระบบ
  • ผู้รับเหมา

  • อาชีพ


    อาชีพ

                          อาชีพ     เป็น รูปแบบการดำรงชีพในสังคมมนุษย์ปัจจุบัน อาชีพเป็นหน้าที่ของบุคคล ในสังคม การที่   บุคคลประกอบอาชีพจะได้มาซึ่งค่าตอบแทน หรือ รายได้ เพื่อใช้จ่ายในการดำรงชีวิต

                              ลักษณะอาชีพ อาชีพที่จำเป็นต้องความรู้ความสามารถเฉพาะด้านเรียกว่า วิชาชีพ เช่น วิศวกร แพทย์ พยาบาล ทนายความ และอาชีพที่ถูกกฎหมายและศีลธรรม เรียกว่า สัมมาชีพ เช่น ค้าขาย ส่วนบางอาชีพที่ผิดกฎหมาย เรียกว่า มิจฉาชีพ เช่น โจรอาชีพอาจมีรายได้ต่างๆกันไป ลักษณะอาชีพที่เป็นลูกจ้างจะได้ค่าตอบแทนในรูปแบบเงินเดือน อาชีพค้าขายหรือประกอบกิจการส่วนตัวหรือ การลงทุนจะได้ค่าตอบแทนในรูปแบบ กำไร
    อาชีพในท้องถิ่น
      อาชีพจักสาร


     

    การจักสาน เป็นงานหัตถกรรมอย่างหนึ่ง และนับเป็นงานศิลปะประเภททัศนศิลป์ได้ด้วย การจักสานเป็นการนำวัสดุขนาดเล็กและยาว มาขัด หรือสาน กันจนเป็นชิ้นงาน เช่น เสื่อ หรือภาชนะอื่นๆ เช่น ตะกร้า เข่ง หรือของใช้อื่นๆ เช่น ลูกตะกร้อ เป็นต้น

     

    วัสดุที่ใช้ วัสดุที่ใช้ในงานจักสาน มักเป็นวัสดุจากธรรมชาติ เช่น ไม้ไผ่ หวาย ปอ กระจูด เป็นต้น ในภายหลังมีการใช้ผักตบชวา และวัสดุเลียนแบบธรรมชาติ ทำให้มีความทนทานมากขึ้น แต่มีสีสันและคุณลักษณะภายนอกคล้ายวัสดุธรรมชาติ